วันศุกร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2568

เล่ม ๔.๓. ธรรมทายาทสูตร

๓. ธรรมทายาทสูตร
ว่าด้วยทายาทแห่งธรรม
    [๒๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับว่า พระเจ้าข้า ดังนี้.

    [๒๑] พระผู้มีพระภาคตรัสพุทธพจน์นี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงเป็นธรรมทายาทของเราเถิด อย่าเป็นอามิสทายาทของเราเลย เรามีความเอ็นดูในพวกเธออยู่ว่า ทําอย่างไรหนอสาวกทั้งหลายของเราจะพึงเป็นธรรมทายาท จะไม่พึงเป็นอามิสทายาท
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกเธอจะพึงเป็นอามิสทายาทของเรา ไม่เป็นธรรมทายาทไซร้ ด้วยความที่พวกเธอเป็นอามิสทายาท ไม่เป็นธรรมทายาทนั้น ทั้งพวกเธอ ทั้งเราพึงถูกวิญญูชนติเตียนได้ว่า พวกสาวกของพระศาสดาพากันเป็นอามิสทายาทไม่เป็นธรรมทายาท ดูกรภิกษุทั้งหลาย เป็นธรรมทายาทของเราไม่เป็นอามิสทายาทไซร้ ด้วยความทีพวกเธอเป็นธรรมทายาท ไม่เป็นอามิส ถ้าพวกเธอพึง ทายาทนั้น ทั้งพวกเธอทั้งเราไม่พึงถูกวิญญูชนติเตียนว่า พวกสาวกของพวกเธอ พระศาสดาพากันเป็นธรรมทายาท ไม่เป็นอามิสทายาท เพราะเหตุนั้นแล ดูกรภิกษุทั้งหลายจงเป็นธรรมทายาทของเราเถิด อย่าเป็นอามิสทายาทเลย เรามีความเอ็นดูในพวกเธออยู่ว่า ทําอย่างไรหนอสาวกทั้งหลายของเราพึงเป็นธรรมทายาท ไม่พึงเป็นอามิสทายาท.

    [๒๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเราบริโภคเสร็จ อิ่มหนำสำราญเป็นอันดีเพียงพอแก่ประโยชน์แล้ว แต่บิณฑบาตของเรายังมีเหลืออยู่ อันจําต้องทิ้ง ในเวลานั้น ภิกษุสองรูปอันความหิวและความถอยกําลังครอบงําแล้วพากันมา เราพึงกล่าวกะเธอทั้งสองนั้นอย่างนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราบริโภคเสร็จ อิ่มหนําสําราญเป็นอันดี เพียงพอแก่ประโยชน์แล้ว แต่บิณฑบาตนี้ของเรายังมีเหลืออยู่ อันจําต้องทิ้ง ถ้าเธอทั้งหลายหวังจะบริโภค ก็จงบริโภคเถิด ถ้าเธอทั้งหลายจักไม่บริโภค เราทิ้งเสียในที่ที่ปราศจากของสดเขียว หรือจักเทเสียในน้ำที่ไม่มีตัวสัตว์ ณ บัดนี้
    ภิกษุสองรูปนั้น รูปหนึ่งมีความคิดอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเสวยเสร็จอิ่มหนําสําราญเป็นอันดี เพียงพอแก่ประโยชน์แล้ว แต่บิณฑบาตของพระผู้มีพระภาคนี้ยังมีเหลืออยู่ อันจําต้องทิ้ง ถ้าเราทั้งหลายจักไม่บริโภค พระพระผู้มีภาคก็จักทรงทิ้งในที่ที่ปราศจากของสดเขียว หรือจักทรงเทเสียในน้ำที่ไม่มีตัวสัตว์ ณ บัดนี้ แต่พระผู้มีพระภาคตรัสสอนไว้ดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงเป็นธรรมทายาทของเราเถิด อย่าเป็นอามิสทายาทเลย ก็บิณฑบาตนี้เป็นอามิสอย่างใดอย่างหนึ่ง อย่ากระนั้นเลย เราไม่พึงบริโภคบิณฑบาตนี้ พึงยังคืนและวันนี้ให้ล่วงไปอย่างนี้ด้วยความหิวและความถอยกําลังนี้แหละ เธอจึงไม่บริโภคบิณฑบาตนั้น แล้วยังคืนและวันนั้นให้ล่วงไปอย่างนี้ ด้วยความหิวและความถอยกําลังนั้นเอง.
    ส่วนภิกษุรูปที่ ๒ มีความคิดอย่างนี้ว่า พระผู่มีพระภาคเสวยเสร็จอิ่มหนําสําราญเป็นอันดีเพียงพอแก่ประโยชน์แล้ว แต่บิณฑบาตของพระผู้มีพระภาคนี้ ยังมีเหลืออยู่ อันจําต่องทิ้ง ถ้าเราทั้งหลายจักไม่บริโภค พระผู้มีพระภาคจักทรงทิ้งในที่ที่ปราศจากของสดเขียว หรือจักทรงเทเสียในน้ำที่ไม่มีตัวสัตว์ ณ บัดนี้ อย่ากระนั้นเลย เราพึงบริโภคบิณฑบาตนี้ บรรเทาความหิวและความถอยกําลัง พึงยังคืนและวันนี้ให้ล่วงไปอย่างนี้ เธอจงบริโภคบิณฑบาตนั้น บรรเทาความหิวและความถอยกําลัง พึงยังคืนและวันนั้นให้ล่วงไปอย่างนี้.
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้น แม้จะบริโภคบิณฑบาตนั้น บรรเทาความหิวและความถอยกําลัง พึงยังคืนและวันนั้นให้ล่วงไปอย่างนี้ ถึงอย่างนั้น ภิกษุรูปก่อนโน้น ยังน่าบูชาและสรรเสริญกว่า ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร? ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะข้อนั้นจักเป็นไปเพื่อความมักน้อย สันโดษ ขัดเกลา เลี้ยงง่าย ปรารภความเพียร แก่ภิกษุนั้นสิ้นกาลนาน 
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล พวกเธอจงเป็นธรรมทายาทของเราเถิด อย่าเป็นอามิสทายาทของเราเลย เรามีความเอ็นดูในพวกเธอว่า ทําอย่างไรหนอ พวกสาวกของเราพึงเป็นธรรมทายาท ไม่พึงเป็นอามิสทายาท พระผู้มีพระภาคสุคตเจ้า ได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว จึงเสด็จลุกจากอาสนะเข้าสู่พระวิหาร.
ปัญหาการไม่ตามศึกษาความสงัด
    [๒๓] ครั้งนั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จหลีกไปไม่นาน ท่านพระสารีบุตรจึงเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย. ภิกษุเหล่านั้นรับคําท่านพระสารีบุตรว่า ขอรับ ดังนี้.
    ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวคำนี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อพระศาสดาเสด็จอยู่สงัดแล้ว สาวกทั้งหลายย่อมไม่ศึกษาความสงัดตาม ด้วยเหตุเพียงเท่าไร เมื่อพระศาสดาเสด็จอยู่สงัดแล้ว สาวกทั้งหลายย่อมศึกษาความสงัดตาม ด้วยเหตุเพียงเท่าไร?

    ภิกษุเหล่านั้นเรียนว่า ข้าแต่ท่านผู้มีอายุ พวกกระผมมาแต่ที่ไกล ก็เพื่อจะทราบเนื้อความแห่งภาษิตข้อนี้ ในสํานักท่านพระสารีบุตร พวกกระผมขอโอกาส ขอเนื้อความแห่งภาษิตข้อนี้ จงแจ่มแจ้งกะท่านพระสารีบุตรเท่านั้นเถิด ภิกษุทั้งหลายได้สดับต่อท่านพระสารีบุตรแล้วจักทรงจําไว้. ท่านพระสารีบุตรจึงกล่าวว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้น พวกท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว. ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระสารีบุตรแล้ว.
    [๒๔] ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวคํานี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อพระศาสดาเสด็จอยู่สงัดแล้ว สาวกทั้งหลายย่อมไม่ศึกษาความสงัดตาม ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ? ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อพระศาสดาเสร็จอยู่สงัดแล้ว สาวกทั้งหลายในพระธรรมวินัยนี้ ไม่ศึกษาความสงัดตาม คือ พระศาสดาตรัสถึงการละธรรมเหล่าใด สาวกทั้งหลายไม่ละธรรมเหล่านั้น เป็นผู้มักมาก ย่อหย่อน เป็นหัวหน้าในการท้อถอย ทอดธุระในความสังกัด. 
บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุผู้เถระอันวิญญูชนพึงติเตียนได้ ด้วยเหตุสามสถาน คือ อันวิญญูชนพึงติเตียนได้ด้วยสถานที่หนึ่ง นี้ว่า เมื่อพระศาสดาเสด็จอยู่สงัดแล้ว พระสาวกทั้งหลายไม่ศึกษาความสงัดตาม อันวิญญูชนพึงติเตียนได้ด้วยสถานที่สองนี้ว่า พระศาสดาตรัสถึงการละธรรมเหล่าใด สาวกทั้งหลายไม่ละธรรมเหล่านั้น อันวิญญูชนพึงติเตียนได้ด้วยสถานที่สามนี้ว่า สาวกทั้งหลายเป็นผู้มักมาก ย่อหย่อน เป็นหัวหน้าในการท้อถอย ทอดธุระในความสงัด. ภิกษุผู้เถระ อันวิญญูชนพึงติเตียนด้วยเหตุสามสถานเหล่านี้.
    บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุผู้มัชฌิมะ อันวิญญูชนพึงติเตียนได้ด้วยเหตุสามสถาน คือ อันวิญญูชนพึงติเตียนได้ด้วยสถานที่หนึ่งนี้ว่า เมื่อพระศาสดาเสด็จอยู่สงัดแล้ว สาวกทั้งหลายไม่ศึกษาความสงัดตาม อันวิญญูชนพึงติเตียนได้ด้วยสถานที่สองนี้ว่า พระศาสดาตรัสถึงการละธรรมเหล่าใด สาวกทั้งหลายไม่ละธรรมเหล่านั้น อันวิญญูชนพึงติเตียนได้ด้วยสถานที่สามนี้ว่า สาวกทั้งหลายเป็นผู้มักมาก ย่อหย่อน เป็นหัวหน้าในการท้อถอย ทอดธุระในความสงัด. ภิกษุผู้มัชฌิมะ อันวิญญูชนพึงติเตียนได้ด้วยเหตุสามสถานเหล่านี้.
    บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุผู้นวกะ อันวิญญูชนพึงติเตียนได้ด้วยเหตุสามสถาน คือ อันวิญญูชนพึงติเตียนได้ด้วยสถานที่หนึ่งนี้ว่า เมื่อพระศาสดาเสด็จอยู่สงัดแล้ว สาวกทั้งหลายไม่ศึกษาความสงัดตาม อันวิญญูชนพึงติเตียนได้ด้วยสถานที่สองนี้ว่า พระศาสดาตรัสถึงการละธรรมเหล่าใด สาวกทั้งหลายไม่ละธรรมเหล่านั้น อันวิญญูชนพึงติเตียนได้ด้วยสถานที่สามนี้ว่า สาวก
ทั้งหลายเป็นผู้มักมาก ย่อหย่อน เป็นหัวหน้าในการท้อถอย ทอดธุระในความสงัด. ภิกษุผู้นวกะ อันวิญญูชนพึงติเตียนได้ด้วยเหตุสามสถานเหล่านี้.
    ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อพระศาสดาเสด็จอยู่สงัดแล้ว สาวกทั้งหลายชื่อว่าไม่ศึกษาความสงัดตาม ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล.
การตามศึกษาเรื่องความสงัด
    [๒๕] ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็เมื่อพระศาสดาเสด็จอยู่สงัดแล้ว สาวกทั้งหลาย ย่อมศึกษาความสงัดตาม ด้วยเหตุเพียงเท่าไร?
    ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อพระศาสดาเสด็จอยู่สงัดแล้ว สาวกทั้งหลายในพระธรรมวินัยนี้ย่อมศึกษาความสงัดตาม คือ พระศาสดาตรัสถึงการละธรรมเหล่าใด สาวกทั้งหลายละธรรมเหล่านั้น ไม่เป็นผู้มักมาก ไม่เป็นผู้ย่อหย่อนทอดธุระในการท้อถอย เป็นหัวหน้าในความสงัด.
    ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย บรรดาสาวกเหล่านั้น ภิกษุผู้เป็นเถระ อันวิญญูชนพึงสรรเสริญด้วยเหตุสามสถาน คือ อันวิญญูชนพึงสรรเสริญด้วยสถานที่หนึ่งนี้ว่า เมื่อพระศาสดาเสด็จอยู่สงัดแล้ว สาวกทั้งหลายศึกษาความสงัดตาม อันวิญญูชนพึงสรรเสริญด้วยสถานที่สองนี้ว่า พระศาสดาตรัสถึงการละธรรมเหล่าใด สาวกทั้งหลายละธรรมเหล่านั้น อันวิญญูชนพึงสรรเสริญด้วยสถานที่สามนี้ว่า สาวกทั้งหลายไม่เป็นผู้มักมาก ไม่เป็นผู้ย่อหย่อน ทอดธุระในความท้อถอยเป็นหัวหน้าในความสงัด ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระ อันวิญญูชนพึงสรรเสริญด้วย
เหตุสามสถานเหล่านี้.

    ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย บรรดาสาวกเหล่านั้น ภิกษุผู้มัชฌิมะ อันวิญญูชนพึงสรรเสริญด้วยเหตุสามสถาน คือ อันวิญญูชนพึงสรรเสริญด้วยสถานที่หนึ่งนี้ว่า เมื่อพระศาสดาเสด็จอยู่สงัดแล้ว สาวกทั้งหลายศึกษาความสงัดตาม อันวิญญูชนพึงสรรเสริญด้วยสถานที่สองนี้ว่า พระศาสดาตรัสถึงการละธรรมเหล่าใด สาวกทั้งหลายละธรรมเหล่านั้น อันวิญญูชนพึงสรรเสริญด้วยสถานที่สามนี้ว่า สาวกทั้งหลายไม่เป็นผู้มักมาก ไม่เป็นผู้ย่อหย่อน ทอดธุระในความท้อถอยเป็นหัวหน้าในความสงัด ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้มัชฌิมะ อันวิญญูชนพึงสรรเสริญด้วยเหตุสามสถานเหล่านี้.
    ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย บรรดาสาวกเหล่านั้น ภิกษุผู้นวกะ อันวิญญูชนพึงสรรเสริญด้วยเหตุสามสถาน คือ อันวิญญูชนพึงสรรเสริญด้วยสถานที่หนึ่งนี้ว่า เมื่อพระศาสดาเสด็จอยู่สงัดแล้ว สาวกทั้งหลายศึกษาความสงัดตาม อันวิญญูชนพึงสรรเสริญด้วยสถานที่สองนี้ว่า
พระศาสดาตรัสถึงการละธรรมเหล่าใด สาวกทั้งหลายละธรรมเหล่านั้น อันวิญญูชนพึงสรรเสริญด้วยสถานที่สามนี้ว่า สาวกทั้งหลายไม่เป็นผู้มักมาก ไม่เป็นผู้ย่อหย่อน ทอดธุระในความท้อถอย เป็นหัวหน้าในความสงัด ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้นวกะ อันวิญญูชนพึงสรรเสริญด้วยเหตุสามสถานเหล่านี้.
    ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อพระศาสดาเสด็จอยู่สงัดแล้ว สาวกทั้งหลาย ชื่อว่าศึกษาความสงัดตาม ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล.
    [๒๖] ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย บรรดาธรรมดังกล่าวแล้วนั้น โลภะและโทสะ เป็นธรรมลามก มัชฌิมาปฏิปทา เพื่อละโลภะและโทสะมีอยู่ ทําความเห็น ทําความรู้ ย่อมเป็นไปเพื่อเข้าไประงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน.
    ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็มัชฌิมาปฏิทาปนั้น ทําความเห็น ทําความรู้ ย่อมเป็นไปเพื่อเข้าไประงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพานเป็นไฉน?
    อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล คือ เห็นชอบ ดําริชอบ เจรจาชอบ การงานชอบ เลี้ยงชีพชอบ พยายามชอบ ระลึกชอบ ตั้งใจชอบ.
    ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย มัชฌิมาปฏิปทานี้นั้นแล ทําความเห็น ทําความรู้ เป็นไปเพื่อเข้าไประงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน.
การปฏิบัติสายกลาง
    ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย บรรดาธรรมดังกล่าวแล้วนั้น ความโกรธและความผูกโกรธไว้ เป็นธรรมลามก ... ความลบหลู่และความตีเสมอ เป็นธรรมลามก ... ความริษยาและความตระหนี่เป็นธรรมลามก ... ความเจ้าเล่ห์และความโอ้อวด เป็นธรรมลามก ... ความหัวดื้อและความแข่งดีเป็นธรรมลามก ... ความถือตัวและความดูหมิ่น เป็นธรรมลามก ... ความเมาและความเลินเล่อ เป็นธรรมลามก มัชฌิมาปฏิปทาเพื่อละความเมาและความเลินเล่อมีอยู่ ทําความเห็น ทําความรู้ ย่อมเป็นไปเพื่อเข้าไประงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน.
    ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย มัชฌิมาปฏิปทานั้น ทําความเห็น ทําความรู้ ย่อมเป็นไปเพื่อเข้าไประงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน เป็นไฉน?
    อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล คือ เห็นชอบ ดําริชอบ เจรจาชอบ การงานชอบ เลี้ยงชีพชอบ พยายามชอบ ระลึกชอบ ตั้งใจชอบ.
    ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย มัชฌิมาปฏิปทานี้แล ทําความเห็น ทําความรู้ ย่อมเป็นไปเพื่อเข้าไประงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน.
    ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจชื่นชม ยินดีภาษิตของท่านพระสารีบุตร ฉะนี้แล.
            จบ ธรรมทายาทสูตร ที่ ๓


วันเสาร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2568

เล่ม ๔.๒.สัพพาสวสังวรสูตร

๒. สัพพาสวสังวรสูตร
ว่าด้วยการสังวรในอาสวะทั้งปวง
    [๑๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า พระเจ้าข้า
    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงปริยายว่าด้วยการสังวรอาสวะทั้งปวงแก่พวกเธอ พวกเธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว
    ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
    [๑๑] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย 
    เรากล่าวความสิ้นอาสวะของภิกษุผู้รู้อยู่ เห็นอยู่
    เราไม่กล่าวความสิ้นอาสวะของภิกษุผู้ไม่รู้อยู่ ไม่เห็นอยู่
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความสิ้นอาสวะจะมีได้แก่ภิกษุผู้รู้อะไร เห็นอยู่อะไร
    ความสิ้นอาสวะจะมีได้แก่ภิกษุผู้รู้เห็นโยนิโสมนสิการและอโยนิโสมนสิการ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุมนสิการโดยไม่แยบคาย อาสวะทั้งหลายที่ยังไม่เกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเจริญขึ้น
    เมื่อภิกษุมนสิการโดยแยบคาย อาสวะทั้งหลายที่ยังไม่เกิดขึ้น ย่อมไม่เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเสื่อมสิ้นไป
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาสวะที่จะพึงละได้เพราะการเห็นมีอยู่
    ที่จะพึงละได้เพราะการสังวรก็มี
    ที่จะพึงละได้เพราะเสพเฉพาะก็มี
    ที่จะพึงละได้เพราะความอดกลั้นก็มี
    ที่จะพึงละได้เพราะเว้นรอบก็มี
    ที่จะพึงละได้เพราะบรรเทาก็มี
    ที่จะพึงละได้เพราะอบรมก็มี.
ว่าด้วยการละอาสวะได้เพราะการเห็น
    [๑๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อาสวะเหล่าไหน ที่จะพึงละได้เพราะการเห็น?
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนในโลกนี้ ผู้ไม่ได้สดับ ไม่ได้เห็นพระอริยะทั้งหลาย ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้รับแนะนําในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัปบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของสัปบุรุษ ไม่ได้รับแนะนําในธรรมของสัปบุรุษ
    ย่อมไม่รู้ทั่วถึงธรรมอันตนควรมนสิการ
    ย่อมไม่รู้ทั่วถึงธรรมอันตนไม่ควรมนสิการ
        เมื่อเขาไม่รู้ทั่วถึงธรรมที่ควรมนสิการ
        ไม่รู้ทั่วถึงธรรมที่ไม่ควรมนสิการ
    ย่อมมนสิการธรรมที่ไม่ควรมนสิการ
    ย่อมไม่มนสิการธรรมที่ควรมนสิการ.
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่ไม่ควรมนสิการ ที่ปุถุชนมนสิการอยู่เป็นไฉน?
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อปุถุชนนั้นมนสิการธรรมเหล่าใดอยู่ กามาสวะก็ดี ภวาสะก็ดี อวิชชาสวะก็ดี ที่ยังไม่เกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเจริญขึ้น ธรรมที่ไม่ควรมนสิการเหล่านี้ ที่เขามนสิการอยู่
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรมนสิการที่ปุถุชนไม่มนสิการอยู่ เป็นไฉน?
    เมื่อปุถุชนนั้นมนสิการธรรมเหล่าใดอยู่ กามาสวะก็ดี ภวาสวะก็ดี อวิชชาสวะก็ดีที่ยังไม่เกิดขึ้น ย่อมไม่เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเสื่อมสิ้นไป ธรรมที่ควรมนสิการเหล่านี้ ที่เขาไม่มนสิการอยู่ อาสวะทั้งหลายที่ยังไม่เกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเจริญแก่ปุถุชนนั้น เพราะมนสิการธรรมที่ไม่ควรมนสิการ และเพราะไม่มนสิการธรรมที่ควรมนสิการ ปุถุชนนั้นมนสิการอยู่โดยไม่แยบคายอย่างนี้ว่า เราได้มีแล้วในอดีตกาลหรือหนอ เราไม่ได้มีแล้วในอดีตกาลหรือหนอ ในอดีตกาลเราได้เป็นอะไรหนอ ในอดีตกาลเราได้เป็นอย่างไรหนอ ในอดีตกาลเราได้เป็นอะไรแล้วจึงเป็นอะไรหนอ ในอนาคตกาลเราจักมีหรือหนอ ในอนาคตกาลเราจักไม่มีหรือหนอ ในอนาคตกาลเราจักเป็นอะไรหนอ ในอนาคตกาลเราจักเป็นอย่างไรหนอ ในอนาคตกาลเราจักเป็นอะไรแล้วจึงจักเป็นอะไรหนอ หรือว่า ปรารภกาลปัจจุบันในบัดนี้มีความสงสัยขึ้นภายในว่า เรามีอยู่หรือ เราไม่มีอยู่หรือ เราเป็นอะไรหนอ เราเป็นอย่างไรหนอ สัตว์นี้มาแต่ไหนหนอ และมันจักไป ณ ที่ไหน.
    เมื่อปุถุชนนั้นมนสิการอยู่โดยไม่แยบคายอย่างนี้ บรรดาทิฏฐิ ๖ ทิฏฐิอย่างใดอย่างหนึ่งย่อมเกิดขึ้น ทิฏฐิโดยจริงโดยแท้ย่อมเกิดขึ้นแก่ปุถุชนนั้นว่า ตนของเรามีอยู่ หรือว่า ตนของเราไม่มีอยู่ หรือว่า เราย่อมรู้ชัดตนด้วยตนเอง หรือว่า เราย่อมรู้ชัดสภาพมิใช่ตนด้วยตนเอง หรือว่า เราย่อมรู้ตนด้วยสภาพมิใช่ตน อีกอย่างหนึ่ง ทิฏฐิย่อมเกิดมีแก่ปุถุชนนั้นอย่างนี้ว่า ตนของเรานี้เป็นผู้เสวย ย่อมเสวยวิบากแห่งกรรมทั้งดีทั้งชั่วในอารมณ์นั้นๆ ก็ตนของเรานี้นั้นเป็นของแน่นอนยั่งยืนเที่ยงแท้ ไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา จักตั้งอยู่อย่างนั้นเสมอด้วยสิ่งยั่งยืนแท้ ข้อนี้ เรากล่าวว่าทิฏฐิ ชัฏคือทิฏฐิ กันดารคือทิฏฐิ เสี้ยนหนามคือทิฏฐิ ความดิ้นรนคือทิฏฐิ สิ่งที่ประกอบสัตว์ไว้คือทิฏฐิ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ผู้ประกอบด้วยทิฏฐิสังโยชน์ ย่อมไม่พ้นจากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส ย่อมไม่พ้นจากทุกข์.
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนอริยสาวกผู้สดับแล้ว ผู้เห็นพระอริยะทั้งหลาย ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ได้รับแนะนําด้วยดีในธรรมของพระอริยะ ผู้เห็นสัปบุรุษ ฉลาดในธรรมของสัปบุรุษ 
ได้รับคําแนะนําด้วยดีในธรรมของสัปบุรุษ ย่อมรู้ทั่วถึงธรรมที่ควรมนสิการ และไม่ควรมนสิการ เมื่ออริยสาวกนั้นรู้ทั่วถึงธรรมที่ควรมนสิการ และไม่ควรมนสิการ ย่อมไม่มนสิการธรรมที่ไม่ควรมนสิการ และมนสิการธรรมที่ควรมนสิการ.
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ไม่ควรมนสิการเหล่าไหน ที่อริยสาวกไม่มนสิการ? เมื่ออริยสาวกนั้นมนสิการธรรมเหล่าใดอยู่ กามาสวะก็ดี ภวาสวะก็ดี อวิชชาสวะก็ดี ที่ยังไม่เกิดขึ้นย่อมเกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเจริญขึ้น ธรรมที่ไม่ควรมนสิการเหล่านี้ ที่อริยสาวกไม่มนสิการ.
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่ควรมนสิการเหล่าไหน ที่อริยสาวกมนสิการอยู่? เมื่ออริยสาวกนั้นมนสิการธรรมเหล่าใดอยู่ กามาสวะก็ดี ภวาสวะก็ดี อวิชชาสวะก็ดี ที่ยังไม่เกิดขึ้น ย่อมไม่เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเสื่อมสิ้นไป ธรรมที่ควรมนสิการเหล่านี้ ที่อริยสาวกมนสิการอยู่ อาสวะทั้งหลายที่ยังไม่เกิดขึ้น จะไม่เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้ว จะเสื่อมสิ้นไปแก่อริยสาวกนั้นเพราะไม่มนสิการธรรมที่ไม่ควรมนสิการ และเพราะมนสิการธรรมที่ควรมนสิการ.
    อริยสาวกนั้น ย่อมมนสิการโดยแยบคายว่า นี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับทุกข์ นี้ปฏิปทาให้ถึงความดับทุกข์ เมื่ออริยสาวกนั้นมนสิการอยู่โดยแยบคายอย่างนี้ สังโยชน์ ๓ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ย่อมเสื่อมสิ้นไป
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาสวะเหล่านี้ เรากล่าวว่า จะพึงละได้เพราะการเห็น
    [๑๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อาสวะเหล่าไหน ที่จะพึงละได้เพราะการสังวร?
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาโดยแยบคายแล้วเป็นผู้สํารวมแล้วด้วยความสํารวมในจักขุนทรีย์อยู่ ก็อาสวะและความเร่าร้อนอันกระทําความคับแค้นเหล่าใด พึงเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้นผู้ไม่สํารวมจักขุนทรีย์ อาสวะและความเร่าร้อนอันกระทำความคับแค้นเหล่านั้น ย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้น ผู้สํารวมจักขุนทรีย์อยู่อย่างนี้.
    ภิกษุพิจารณาโดยแยบคายแล้ว เป็นผู้สํารวมด้วยความสํารวมในโสตินทรีย์อยู่ ...
    ภิกษุพิจารณาโดยแยบคายแล้ว เป็นผู้สํารวมด้วยความสํารวมในฆานินทรีย์อยู่ ...
    ภิกษุพิจารณาโดยแยบคายแล้ว เป็นผู้สํารวมด้วยความสํารวมในชิวหินทรีย์อยู่ ...
    ภิกษุพิจารณาโดยแยบคายแล้ว เป็นผู้สํารวมด้วยความสํารวมในกายินทรีย์อยู่ ...
    ภิกษุพิจารณาโดยแยบคายแล้ว เป็นผู้สํารวมด้วยความสํารวมในมนินทรีย์อยู่ ก็อาสวะและความเร่าร้อนอันกระทําความคับแค้นเหล่าใด พึงบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ไม่สํารวมใน
มนินทรีย์อยู่ อาสวะและความเร่าร้อนอันกระทําความคับแค้นเหล่านั้น ย่อมไม่มีแก่ภิกษุผู้สํารวมในมนินทรีย์อยู่อย่างนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาสวะเหล่านี้ เรากล่าวว่า จะพึงละได้เพราะการสังวร.
ว่าด้วยละอาสวะได้เพราะการพิจารณาเสพ
    [๑๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อาสวะเหล่าไหน ที่จะพึงละได้เพราะการพิจารณาเสพ?
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาโดยแยบคายแล้ว เสพจีวรเพียงเพื่อกําจัดหนาว ร้อน สัมผัส แห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลาน เพียงเพื่อจะปกปิดอวัยวะที่ให้ความละอายกําเริบ
    พิจารณาโดยแยบคายแล้ว เสพบิณฑบาตมิใช่เพื่อจะเล่น มิใช่เพื่อมัวเมา มิใช่เพื่อประดับ มิใช่เพื่อตบแต่ง เพียงเพื่อให้กายนี้ดํารงอยู่ เพื่อให้เป็นไป เพื่อกําจัดความลำบาก เพื่ออนุเคราะหแก่พรหมจรรย์ ด้วยคิดว่า จะกําจัดเวทนาเก่าเสียด้วย จะไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้นด้วย ความเป็นไป ความไม่มีโทษ และความอยู่สบายด้วย จักมีแก่เราฉะนี้
    พิจารณาโดยแยบคายแล้ว เสพเสนาสนะ เพียงเพื่อกำจัดหนาวร้อน สัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลาน เพียงเพื่อบรรเทาอันตรายแต่ฤดู เพื่อรื่นรมย์ในการหลีกออกเร้นอยู่
    พิจารณาโดยแยบคายแล้ว เสพบริขาร คือ ยาอันเป็นปัจจัยบําบัดไข้ เพียงเพื่อกําจัดเวทนาที่เกิดแต่อาพาธต่างๆ ที่เกิดขึ้นแล้ว เพื่อความเป็นผู้ไม่มีอาพาธเบียดเบียนเป็นอย่างยิ่ง.
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาสวะและความเร่าร้อนอันกระทําความคับแค้นเหล่าใด พึงบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้นผู้ไม่พิจารณาเสพปัจจัยอันใดอันหนึ่ง อาสวะและความเร่าร้อนอันกระทําความคับแค้นเหล่านั้น ย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้น ผู้พิจารณาเสพอยู่อย่างนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาสวะเหล่านี้ เรากล่าวว่า จะพึงละได้เพราะการพิจารณาเสพ.

    [๑๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อาสวะเหล่าไหน ที่จะพึงละได้เพราะความอดกลั้น?
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาโดยแยบคายแล้วเป็นผู้อดทนต่อหนาว ร้อน หิว ระหาย สัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลาน เป็นผู้มีชาติของผู้อดกลั้นต่อถ้อยคําที่ผู้อื่นกล่าวชั่ว ร้ายแรงต่อเวทนาที่มีอยู่ในตัว ซึ่งบังเกิดขึ้นแล้ว เป็นทุกข์ กล้า แข็ง เผ็ดร้อน ไม่เป็นที่ยินดี ไม่เป็นที่ชอบใจ อาจพล่าชีวิตเสียได้.
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อาสวะและความเร่าร้อนอันกระทําความคับแค้นเหล่าใด พึงบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้นผู้ไม่อดกลั้นอยู่ อาสวะและความเร่าร้อนอันกระทําความคับแค้นเหล่านั้น ย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้น ผู้อดกลั้นอยู่อย่างนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาสวะเหล่านี้ เรากล่าวว่า จะพึงละได้เพราะความอดกลั้น.

    [๑๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อาสวะเหล่าไหนที่จะพึงละได้เพราะความเว้นรอบ ? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาโดยแยบคายแล้วเว้นช้างที่ดุร้าย ม้าที่ดุร้าย โคที่ดุร้าย สุนัขที่ดุร้าย งู หลักตอ สถานที่มีหนาม บ่อ เหว แอ่งน้ำครํา บ่อน้ำครํา เพื่อนพรหมจรรย์ผู้เป็นวิญญูชนทั้งหลาย พึงกําหนดลงซึ่งบุคคลผู้นั่ง ณ ที่มิใช่อาสนะเห็นปานใด ผู้เที่ยวไป ณ ที่มิใช่โคจรเห็นปานใด ผู้คบมิตรที่ลามกเห็นปานใด ในสถานทั้งหลายอันลามก ภิกษุนั้นพิจารณาโดยแยบคายแล้ว เว้นที่มิใช่อาสนะนั้น ที่มิใช่โคจรนั้น และมิตรผู้ลามกเหล่านั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย จริงอยู่ อาสวะและความเร่าร้อนอันกระทําความคับแค้นเหล่าใด พึงบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น ผู้ไม่เว้นสถานหรือบุคคลอันใดอันหนึ่ง อาสวะและความเร่าร้อนอันกระทําความคับแค้นเหล่านั้น ย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้น ผู้เว้นรอบอยู่อย่างนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาสวะเหล่านี้ เรากล่าวว่าจะพึงละได้เพราะการเว้นรอบ
    [๑๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อาสวะเหล่าไหนที่จะพึงละได้เพราะความบรรเทา? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาโดยแยบคายแล้วย่อมอดกลั้น ย่อมละ ย่อมบรรเทากามวิตกที่เกิดขึ้นแล้ว ทําให้สิ้นสูญ ให้ถึงความไม่มี ย่อมอดกลั้น ย่อมละ ย่อมบรรเทา พยาบาท วิตกที่เกิดขึ้นแล้ว ทําให้สิ้นสูญ ให้ถึงความไม่มี ย่อมอดกลั้น  ย่อมละ ย่อมบรรเทา วิหิงสาวิตกที่เกิดขึ้นแล้ว ทําให้สิ้นสูญ ให้ถึงความไม่มี ย่อมอดกลั้น ย่อมละ ย่อมบรรเทาธรรมที่เป็นบาปอกุศลที่บังเกิดขึ้นแล้ว ทําให้สิ้นสูญ ให้ถึงความไม่มี ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อาสวะและความเร่่าร้อนอันกระทําความคับแค้นเหล่าใด พึงบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น ผู้ไม่บรรเทาธรรมอันใดอันหนึ่ง อาสวะและความเร่าร้อนอันกระทําความคับแค้นเหล่านั้น ย่อมไม่มีแก่ภิกษุผู้บรรเทาอยู่อย่างนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาสวะเหล่านี้ เรากล่าวว่า จะพึงละได้เพราะความบรรเทา.
ว่าด้วยละอาสวะได้เพราะการอบรม
    [๑๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อาสวะเหล่าไหนที่จะพึงละได้เพราะอบรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาโดยแยบคายแล้ว เจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในความสละลง เจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ... เจริญวิริยสัมโพชฌงค์ ... เจริญปีติสัมโพชฌงค์ ... เจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ... เจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ ... เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในความสละลง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อาสวะและความเร่าร้อนอันกระทำความคับแค้นเหล่าใด พึงเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น ผู้ไม่อบรมธรรม
อันใดอันหนึ่ง อาสวะและความเร่าร้อนอันกระทําความคับแค้นเหล่านั้น ย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้นผู้อบรมอยู่อย่างนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาสวะเหล่านี้ เรากล่าวว่า จะพึงละได้เพราะอบรม.
    [๑๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะเหตุว่า อาสวะเหล่าใด อันภิกษุใดพึงละได้เพราะการเห็น อาสวะเหล่านั้น อันภิกษุนั้นได้แล้วเพราะการเห็น
    อาสวะเหล่าใดอันภิกษุใดพึงละได้เพราะการสังวร อาสวะเหล่านั้น อันภิกษุนั้นละได้แล้วเพราะการสังวร
    อาสวะเหล่าใด อันภิกษุใดพึงละได้เพราะการพิจารณาเสพ อาสวะเหล่านั้น อันภิกษุนั้นละได้แล้วเพราะการพิจารณาเสพ
    อาสวะเหล่าใด อันภิกษุใด พึงละได้เพราะความอดกลั้น อาสวะเหล่านั้น อันภิกษุนั้นละได้แล้วเพราะความอดกลั้น
    อาสวะเหล่าใด อันภิกษุใดพึงละได้เพราะการเว้นรอบ อาสวะเหล่านั้นอันภิกษุนั้นละได้แล้ว เพราะการเว้นรอบ
    อาสวะเหล่าใด อันภิกษุใด พึงละได้เพราะการบรรเทา อาสวะเหล่านั้น อันภิกษุนั้นละได้แล้วเพราะการบรรเทา
    อาสวะเหล่าใด อันภิกษุใดพึงละได้เพราะการอบรม อาสวะเหล่านั้น อันภิกษุนั้นละได้แล้วเพราะการอบรม
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้เรากล่าวว่า เป็นผู้สํารวมด้วยความสังวรในอาสวะทั้งปวงอยู่ ตัดตัณหาได้แล้ว ยังสังโยชน์ให้ปราศไปแล้ว ได้ทําที่สุดแห่งทุกข์เพราะความตรัสรู้ ด้วยการเห็นและการละมานะโดยชอบ.
    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสสังวรปริยายนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นชื่นชมยินดีภาษิตของพระผู้มีพระภาค ฉะนี้แล.
        จบ สัพพาสวสังวรสูตร ที่ ๒


วันอาทิตย์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2568

เล่ม ๔.๑.มูลปริยายสูตร

พระสุตตันตปิฎก
เล่ม ๔
มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
ขอน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
มูลปริยายวรรค
๑. มูลปริยายสูตร
ว่าด้วยมูลเหตุแห่งธรรมทั้งปวง
    [๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ โคนไม้พญารัง ในสุภควัน เขตเมืองอุกกัฏฐา ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า พระเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงปริยายอันเป็นมูลของธรรมทั้งปวงแก่พวกเธอ พวกเธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว
    ภิกษุเหล่านั้น ทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
กําหนดภูมินัยที่ ๑ ด้วยสามารถปุถุชน
    [๒] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนในโลกนี้ ไม่ได้สดับ ไม่ได้เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้รับแนะนําในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้รับแนะนําในธรรมของสัตบุรุษ ย่อมรู้ธาตุดินโดยความเป็นธาตุดิน ครั้นรู้ธาตุดินโดยความเป็นธาตุดินแล้ว ย่อมสําคัญธาตุดิน 
ย่อมสําคัญในธาตุดิน ย่อมสำคัญโดยความเป็นธาตุดิน ย่อมสําคัญธาตุดินว่า ของเรา ย่อมยินดีธาตุดิน ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กําหนดรู้.
    ย่อมรู้ธาตุน้ำโดยความเป็นธาตุน้ำ ครั้นรู้ธาตุน้ำโดยความเป็นธาตุน้ำแล้ว ย่อมสําคัญธาตุน้ำ ย่อมสําคัญในธาตุน้ำ ย่อมสําคัญโดยความเป็นธาตุน้ำ ย่อมสําคัญธาตุน้ำว่า ของเรา ย่อมยินดีธาตุน้ำ ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กําหนดรู้.
    ย่อมรู้ธาตุไฟโดยความเป็นธาตุไฟ ครั้นรู้ธาตุไฟโดยความเป็นธาตุไฟแล้ว ย่อมสําคัญธาตุไฟ ย่อมสําคัญในธาตุไฟ ย่อมสําคัญโดยความเป็นธาตุไฟ ย่อมสําคัญธาตุไฟว่า ของเรา ย่อมยินดีธาตุไฟ ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กําหนดรู้.
    ย่อมรู้ธาตุลมโดยความเป็นธาตุลม ครั้นรู้ธาตุลมโดยความเป้นธาตุลมแล้ว ย่อมสําคัญธาตุลม ย่อมสําคัญในธาตุลม ย่อมสําคัญโดยความเป็นธาตุลม ย่อมสําคัญธาตุลมว่า ของเรา ย่อมยินดีธาตุลม ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กําหนดรู้.
    ย่อมรู้สัตว์โดยความเป็นสัตว์ ครั้นรู้สัตว์โดยความเป็นสัตว์แล้ว ย่อมสําคัญสัตว์ ย่อมสําคัญในสัตว์ย่อมสําคัญโดยความเป็นสัตว์ ย่อมสําคัญสัตว์ว่า ของเรา ย่อมยินดีสัตว์ ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าว่า เพราะเขาไม่ได้กําหนดรู้.
    ย่อมรู้เทวดาโดยความเป็นเทวดา ครั้นรู้เทวดาโดยความเป็นเทวดาแล้ว ย่อมสําคัญเทวดา ย่อมสําคัญในเทวดา ย่อมสําคัญโดยความเป็นเทวดา ย่อมสําคัญเทวดาว่าของเรา ย่อมยินดีเทวดา ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กําหนดรู้.
    ย่อมรู้มารโดยความเป็นมาร ครั้นรู้มารโดยความเป็นมารแล้ว ย่อมสําคัญมาร ย่อมสําคัญในมาร ย่อมสำคัญโดยความเป็นมาร  ย่อมสําคัญมารว่า ของเรา ย่อมยินดีมาร ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กําหนดรู้.
    ย่อมรู้พรหมโดยความเป็นพรหม ครั้นรู้พรหมโดยความเป็นพรหมแล้ว ย่อมสําคัญพรหม ย่อมสําคัญในพรหม ย่อมสําคัญโดยความเป็นพรหม ย่อมสําคัญพรหมว่า ของเรา ย่อมยินดีพรหม ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กําหนดรู้.
    ย่อมรู้อาภัสสรพรหมโดยความเป็นอาภัสสรพรหม ครั้นรู้อาภัสสรพรหมโดยความเป็นอาภัสสรพรหมแล้ว ย่อมสําคัญอาภัสสรพรหม ย่อมสําคัญในอาภัสสรพรหม ย่อมสําคัญโดยความเป็นอาภัสสรพรหม ย่อมสําคัญอาภัสสรพรหมว่า ของเรา ย่อมยินดีอาภัสสรพรหม ข้อนั้น
เพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กําหนดรู้.

    ย่อมรู้สุภกิณหพรหมโดยความเป็นสุภกิณหพรหม ครั้นรู้สุภกิณหพรหมโดยความเป็นสุภกิณหพรหมแล้ว ย่อมสําคัญสุภกิณหพรหม ย่อมสําคัญในสุภกิณหพรหม ย่อมสําคัญโดยความเป็นสุภกิณหพรหม ย่อมสําคัญสุภกิณหพรหมว่า ของเรา ย่อมยินดีสุภกิณหพรหม ข้อนั้นเพราะ
เหตุอะไร เรากล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กําหนดรู้.
    ย่อมรู้เวหัปผลพรหมโดยความเป็นเวหัปผลพรหม ครั้นรู้เวหัปผลพรหมโดยความเป็นเวหัปผลพรหมแล้ว ย่อมสําคัญเวหัปผลพรหม ย่อมสําคัญในเวหัปผลพรหม ย่อมสําคัญโดยความเป็นเวหัปผลพรหม ย่อมสําคัญเวหัปผลพรหมว่า ของเรา ย่อมยินดีเวหัปผลพรหม ข้อนั้นเพราะ
เหตุอะไร เรากล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กําหนดรู้.
    ย่อมรู้อสัญญีสัตว์โดยความเป็นอสัญญีสัตว์ ครั้นรู้อสัญญีสัตว์โดยความเป็นอสัญญีสัตว์แล้ว ย่อมสําคัญอสัญญีสัตว์ ย่อมสําคัญในอสัญญีสัตว์ ย่อมสําคัญโดยความเป็นอสัญญีสัตว์ ย่อมสําคัญอสัญญีสัตว์ว่า ของเรา ย่อมยินดีอสัญญีสัตว์ ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่า
เพราะเขาไม่ได้กําหนดรู้.
    ย่อมรู้อากาสานัญจายตนพรหมโดยความเป็นอากาสานัญจายตนพรหม ครั้นรู้อากาสานัญจายตนพรหมโดยความเป็นอากาสานัญจายตนพรหมแล้ว ย่อมสําคัญอากาสานัญจายตนพรหม ย่อมสําคัญในอากาสานัญจายตนพรหม ย่อมสําคัญโดยความเป็นอากาสานัญจายตนพรหม ย่อมสําคัญอากาสานัญจายตนพรหมว่า ของเรา ย่อมยินดีอากาสานัญจายตนพรหม ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กําหนดรู้.
    ย่อมรู้วิญญาณัญจายตนพรหมโดยความเป็นวิญญาณัญจายตนพรหม ครั้นรู้วิญญาณัญจายตนพรหมโดยความเป็นวิญญาณัญจายตนพรหมแล้ว ย่อมสําคัญวิญญาณัญจายตนพรหม ย่อมสําคัญในวิญญาณัญจายตนพรหม ย่อมสําคัญโดยความเป็นวิญญาณัญจายตนพรหม ย่อมสําคัญวิญญาณัญจายตนพรหมว่า ของเรา ย่อมยินดีวิญญาณัญจายตนพรหม ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กําหนดรู้.
    ย่อมรู้อากิญจัญญายตนพรหมโดยความเป็นอากิญจัญญายตนพรหม ครั้นรู้อากิญจัญญายตนพรหมโดยความเป็นอากิญจัญญายตนพรหมแล้ว ย่อมสําคัญอากิญจัญญายตนพรหม ย่อมสําคัญในอากิญจัญญายตนพรหม ย่อมสําคัญโดยความเป็นอากิญจัญญายตนพรหม ย่อมสําคัญ
อากิญจัญญายตนพรหมว่า ของเรา ย่อมยินดีอากิญจัญญายตนพรหม ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กําหนดรู้.

    ย่อมรู้เนวสัญญานาสัญญายตนพรหมโดยความเป็นเนวสัญญานาสัญญายตนพรหม ครั้นรู้เนวสัญญานาสัญญายตนพรหมโดยความเป็นเนวสัญญานาสัญญายตนพรหมแล้ว ย่อมสําคัญเนวสัญญานาสัญญายตนพรหม ย่อมสําคัญในเนวสัญญานาสัญญายตนพรหม ย่อมสําคัญโดยความเป็นเนวสัญญานาสัญญายตนพรหม ย่อมสําคัญเนวสัญญานาสัญญายตนพรหมว่า ของเรา ย่อมยินดีเนวสัญญานาสัญญายตนพรหม ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กําหนดรู้.
    ย่อมรู้รูปที่ตนเห็นโดยความเป็นรูปที่เห็น ครั้นรู้รูปที่ตนเห็นโดยความเป็นรูปที่ตนเห็นแล้ว ย่อมสําคัญรูปที่ตนเห็น ย่อมสําคัญในรูปที่ตนเห็น ย่อมสําคัญโดยความเป็นรูปที่ตนเห็น ย่อมสําคัญรูปที่ตนเห็นว่า ของเรา ย่อมยินดีรูปที่ตนเห็น ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กําหนดรู้.
    ย่อมรู้เสียงที่ตนฟังโดยความเป็นเสียงที่ตนฟัง ครั้นรู้เสียงที่ตนฟังโดยความเป็นเสียงที่ตนฟังแล้ว ย่อมสําคัญเสียงที่ตนฟัง ย่อมสําคัญในเสียงที่ตนฟัง ย่อมสําคัญโดยความเป็นเสียงที่ตนฟัง ย่อมสําคัญเสียงที่ตนฟังว่า ของเรา ย่อมยินดีเสียงที่ตนฟัง ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กําหนดรู้.
    ย่อมรู้อารมณ์ที่ตนทราบโดยความเป็นอารมณ์ที่ตนทราบ ครั้นรู้อารมณ์ที่ตนทราบโดยความเป็นอารมณ์ที่ตนทราบแล้ว ย่อมสําคัญอารมณ์ที่ตนทราบ ย่อมสําคัญในอารมณ์ที่ตนทราบ ย่อมสําคัญโดยความเป็นอารมณ์ที่ตนทราบ ย่อมสําคัญอารมณ์ที่ตนทราบว่า ของเรา ย่อมยินดีอารมณ์ที่ตนทราบ ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กําหนดรู้.
    ย่อมรู้ธรรมารมณ์ที่ตนรู้แจ้งโดยความเป็นธรรมารมณ์ที่ตนรู้แจ้ง ครั้นรู้ธรรมารมณ์ที่ตนรู้แจ้งโดยความเป็นธรรมารมณ์ที่ตนรู้แจ้งแล้ว ย่อมสําคัญธรรมารมณ์ที่ตนรู้แจ้ง ย่อมสําคัญในธรรมารมณ์ที่ตนรู้แจ้ง ย่อมสําคัญโดยความเป็นธรรมารมณ์ที่ตนรู้แจ้ง ย่อมสําคัญธรรมารมณ์ที่ตน
รู้แจ้งว่า ของเรา ย่อมยินดีธรรมารมณ์ที่ตนรู้แจ้ง ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กําหนดรู้.
    ย่อมรู้ความที่สักกายะเป็นอันเดียวกันโดยความเป็นอันเดียวกัน ครั้นรู้สักกายะเป็นอันเดียวกันโดยความเป็นอันเดียวกันแล้ว ย่อมสําคัญความที่สักกายะเป็นอันเดียวกัน ย่อมสําคัญในความที่สักกายะเป็นอันเดียวกัน ย่อมสําคัญโดยความที่สักกายะเป็นอันเดียวกัน ย่อมสําคัญความที่สักกายะเป็นอันเดียวกันว่า ของเรา ย่อมยินดีความที่สักกายะเป็นอันเดียวกัน ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กําหนดรู้.

    ย่อมรู้ความที่สักกายะต่างกันโดยความเป็นของต่างกัน ครั้นรู้ความที่สักกายะต่างกันโดยความเป็นของต่างกันแล้ว ย่อมสําคัญความที่สักกายะต่างกัน ย่อมสําคัญในความที่สักกายะต่างกัน ย่อมสําคัญโดยความที่สักกายะต่างกัน ย่อมสําคัญความที่สักกายะต่างกันว่า ของเรา ย่อมยินดี
ความที่สักกายะต่างกัน ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กําหนดรู้.
    ย่อมรู้สักกายะทั้งปวงโดยความเป็นสักกายะทั้งปวง ครั้นรู้สักกายะทั้งปวง โดยความเป็นสักกายะทั้งปวงแล้ว ย่อมสําคัญสักกายะทั้งปวง ย่อมสําคัญในสักกายะทั้งปวง ย่อมสําคัญโดยความเป็นสักกายะทั้งปวง ย่อมสําคัญสักกายะทั้งปวงว่าของเรา ย่อมยินดีสักกายะทั้งปวง ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กําหนดรู้.
    ย่อมรู้พระนิพพานโดยความเป็นพระนิพพาน ครั้นรู้พระนิพพานโดยความเป็นพระนิพพานแล้ว ย่อมสําคัญพระนิพพาน ย่อมสําคัญในพระนิพพาน ย่อมสําคัญโดยความเป็นพระนิพพาน ย่อมสําคัญพระนิพพานว่า ของเรา ย่อมยินดีพระนิพพาน ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่า
เพราะเขาไม่ได้กําหนดรู้.
            กําหนดภูมินัยที่ ๑ ด้วยสามารถปุถุชน.
        กําหนดภูมินัยที่ ๒ ด้วยสามารถเสขบุคคล
    [๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ภิกษุใดเป็นเสขบุคคล ยังไม่บรรลุพระอรหัตผล เมื่อปรารถนาธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะซึ่งไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่าอยู่ แม้ภิกษุนั้นรู้ธาตุดินโดยความเป็นธาตุดิน ครั้นรู้ธาตุดินโดยความเป็นธาตุดินแล้ว อย่าสําคัญธาตุดิน อย่าสําคัญในธาตุดิน อย่าสําคัญโดยความเป็นธาตุดิน อย่าสําคัญธาตุดินว่า ของเรา อย่ายินดีธาตุดิน ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่า เพราะเขาควรกําหนดรู้.
    ย่อมรู้ธาตุน้ำ ... ธาตุไฟ ... ธาตุลม ... สัตว์ ... เทวดา ... มาร ... พรหม ... อาภัสสรพรหม ... สุภกิณพรหม ... เวหัปผลพรหม ... อสัญญีสัตว์ ... อากาสานัญจายตนพรหม ... วิญญาณัญจายตนพรหม ... เนวสัญญานาสัญญายตนพรหม รูปที่ตนเห็น ... เสียงที่ตนฟัง ... อารมณ์ที่ตนทราบ
... วิญญาณ ที่ตนรู้แจ้ง ... ความที่สักกายะเป็นอันเดียวกัน ... ความที่สักกายะต่างกัน ... สักกายะทั้งปวง ...
    ย่อมรู้พระนิพพานโดยความเป็นพระนิพพาน ครั้นรู้พระนิพพานโดยความเป็นพระนิพพานแล้ว อย่าสําคัญพระนิพพาน อย่าสําคัญในพระนิพพาน อย่าสําคัญโดยความเป็นพระนิพพาน อย่าสําคัญพระนิพพานว่า ของเรา อย่ายินดีพระนิพพาน ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่า เพราะเขาควรกําหนดรู้.

            กําหนดภูมินัยที่ ๒ ด้วยสามารถเสขบุคคล.
        กําหนดภูมินัยที่ ๓ ด้วยสามารถพระขีณาสพ
    [๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ภิกษุใด เป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ เสร็จกิจแล้ว ปลงภาระเสียแล้ว บรรลุถึงประโยชน์ตนแล้ว สิ้นกิเลส เครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพแล้ว หลุดพ้นด้วยปัญญาอันชอบแล้ว แม้ภิกษุนั้นรู้ธาตุดินโดยความเป็นธาตุดิน ครั้นรู้ธาตุดินโดยความเป็นธาตุดินแล้ว ย่อมไม่สําคัญธาตุดิน ไม่สําคัญในธาตุดิน ไม่สําคัญโดยความเป็นธาตุดิน ไม่สําคัญธาตุดินว่าของเรา ไม่ยินดีธาตุดิน ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่า เพราะเธอกําหนดรู้แล้ว.
    ย่อมรู้ธาตุน้ำ ... ธาตุไฟ ... ธาตุลม ... สัตว์ ... เทวดา ... มาร ... พรหม ... อาภัสสรพรหม ... สุภกิณพรหม ... เวหัปผลพรหม ... อสัญญีสัตว์ ... อากาสานัญจายตนพรหม ... วิญญาณัญจายตนพรหม ... อากิญจัญญายตนพรหม ... เนวสัญญานาสัญญายตนพรหม ... รูปที่ตนเห็น ... เสียงที่ตนฟัง ... อารมณ์ที่ตนทราบ ... วิญญาณที่ตนรู้แจ้ง ... ความที่สักกายะเป็นอันเดียวกัน ... ความที่สักกายะต่างกัน ... สักกายะทั้งปวง ...
    ย่อมรู้พระนิพพานโดยความเป็นพระนิพพาน ครั้นรู้พระนิพพานโดยความเป็นพระนิพพานแล้ว ย่อมไม่สําคัญพระนิพพาน ย่อมไม่สําคัญในพระนิพพาน ย่อมไม่สําคัญโดยความเป็นพระนิพพาน ย่อมไม่สําคัญพระนิพพานว่า ของเรา ย่อมไม่ยินดีพระนิพพาน ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่า เพราะเธอกําหนดรู้แล้ว.
            กําหนดภูมินัยที่ ๓ ด้วยสามารถพระขีณาสพ.
        กําหนดภูมินัยที่ ๔ ด้วยสามารถพระขีณาสพ
    [๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ภิกษุนั้นใด เป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ เสร็จกิจแล้ว ปลงภาระแล้ว บรรลุถึงประโยชน์ตนแล้ว สิ้นกิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพแล้ว พ้นด้วยปัญญาอันชอบแล้ว แม้ภิกษุนั้นรู้ธาตุดินโดยความเป็นธาตุดิน ครั้นรู้ธาตุดินโดยความเป็นธาตุดินแล้ว ย่อมไม่สําคัญธาตุดิน ย่อมไม่สําคัญในธาตุดิน ย่อมไม่สําคัญโดยความเป็นธาตุดิน ย่อมไม่สําคัญธาตุดินว่าของเรา ย่อมไม่ยินดีธาตุดิน ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่า เพราะปราศจากราคะ เหตุราคะสิ้นไป.
    ย่อมรู้ธาตุน้ำ ... ธาตุไฟ ... ธาตุลม ... สัตว์ ... เทวดา ... มาร ... พรหม ... อาภัสสรพรหม ... สุภกิณหพรหม ... เวหัปผลพรหม ... อสัญญีสัตว์ ... อากาสานัญจายตนพรหม ... วิญญาณัญจายตน
พรหม ... อากิญจัญญายตนพรหม ... เนวสัญญานาสัญญายตนพรหม ... รูปที่ตนเห็น ... เสียงที่
ตนฟัง ... อารมณ์ที่ตนทราบ ... วิญญาณที่ตนรู้แจ้ง ... ความที่สักกายะเป็นอันเดียวกัน ... ความที่สักกายะต่างกัน ... สักกายะทั้งปวง ...
    ย่อมรู้พระนิพพานโดยความเป็นพระนิพพาน ครั้นรู้พระนิพพานโดยความเป็นพระนิพพานแล้ว ย่อมไม่สําคัญพระนิพพาน ย่อมไม่สําคัญในพระนิพพาน ย่อมไม่สําคัญโดยความเป็นพระนิพพาน ย่อมไม่สําคัญพระนิพพานว่า ของเรา ย่อมไม่ยินดีพระนิพพาน ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะปราศจากราคะ เหตุราคะสิ้นไป.
            กําหนดภูมินัยที่ ๔ ด้วยสามารถพระขีณาสพ.
        กําหนดภูมินัยที่ ๕ ด้วยสามารถพระขีณาสพ
    [๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ภิกษุนั้นใด เป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ เสร็จกิจแล้ว ปลงภาระเสียแล้ว บรรลุถึงประโยชน์ตนแล้ว สิ้นกิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพแล้ว พ้นด้วยปัญญาอันชอบแล้ว แม้ภิกษุนั้นย่อมรู้ยิ่งธาตุดินโดยความเป็นธาตุดิน ครั้นรู้ธาตุดินโดยความเป็นธาตุดินแล้ว ย่อมไม่สําคัญธาตุดิน ย่อมไม่สําคัญในธาตุดิน ย่อมไม่สําคัญโดยความเป็นธาตุดิน ย่อมไม่สําคัญธาตุดินว่า ของเรา ย่อมไม่ยินดีธาตุดิน ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะปราศจากโทสะ เหตุโทสะสิ้นไป.
    ย่อมรู้ธาตุน้ำ ... ธาตุไฟ ... ธาตุลม ... สัตว์ ... เทวดา ... มาร ... พรหม ... อาภัสสรพรหม ... สุภกิณหพรหม ... เวหัปผลพรหม ... อสัญญีสัตว์ ... อากาสานัญจายตนพรหม ... วิญญาณัญจายตนพรหม ... อากิญจัญญายตนพรหม ... เนวสัญญานาสัญญายตนพรหม ... รูปที่ตนเห็น ... เสียงที่ตนฟัง ... อารมณ์ที่ตนทราบ ... วิญญาณที่ตนรู้แจ้ง ... ความที่สักกายะเป็นอันเดียวกัน ... ความที่สักกายะต่างกัน ... สักกายะทั้งปวง ...
    ย่อมรู้พระนิพพานโดยความเป็นพระนิพพาน ครั้นรู้พระนิพพานโดยความเป็นพระนิพพานแล้ว ย่อมไม่สําคัญพระนิพพาน ย่อมไม่สําคัญในพระนิพพาน ย่อมไม่สําคัญโดยความเป็นพระนิพพาน ย่อมไม่สําคัญพระนิพพานว่า ของเรา ย่อมไม่ยินดีพระนิพพาน ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะปราศจากโทสะ เหตุโทสะสิ้นไป.
            กําหนดภูมินัยที่ ๕ ด้วยสามารถพระขีณาสพ

        กําหนดภูมินัยที่ ๖ ด้วยสามารถพระขีณาสพ
    [๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ภิกษุนั้นใด เป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ เสร็จกิจแล้ว ปลงภาระเสียแล้ว บรรลุถึงประโยชน์ตนแล้ว สิ้นกิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพแล้ว หลุดพ้นด้วยปัญญาอันชอบแล้ว แม้ภิกษุนั้นย่อมรู้ธาตุดินโดยความเป็นธาตุดิน ครั้นรู้ธาตุดินโดยความเป็นธาตุดินแล้ว ย่อมไม่สําคัญธาตุดิน ย่อมไม่สําคัญในธาตุดิน ย่อมไม่สําคัญโดยความเป็นธาตุดิน ย่อมไม่สําคัญธาตุดินว่า ของเรา ย่อมไม่ยินดีธาตุดิน ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะปราศจากโมหะ เหตุโมหะสิ้นไป.
    ย่อมรู้ธาตุน้ำ ... ธาตุไฟ ... ธาตุลม ... สัตว์ ... เทวดา ... มาร ... พรหม ... อาภัสสรพรหม ... สุภกิณหพรหม ... เวหัปผลพรหม ... อสัญญีสัตว์ ... อากาสานัญจายตนพรหม ... วิญญาณัญจายตนพรหม ... อากิญจัญญายตนพรหม ... เนวสัญญานาสัญญายตนพรหม ... รูปที่ตนเห็น ... เสียงที่ตนฟัง ... อารมณ์ที่ตนทราบ ... วิญญาณที่ตนรู้แจ้ง ... ความที่สักกายะเป็นอันเดียวกัน ... ความที่สักกายะต่างกัน ... สักกายะทั้งปวง ...
    ย่อมรู้พระนิพพานโดยความเป็นพระนิพพาน ครั้นรู้พระนิพพานโดยความเป็นพระนิพพานแล้ว ย่อมไม่สําคัญพระนิพพาน ย่อมไม่สําคัญในพระนิพพาน ย่อมไม่สําคัญโดยความเป็นพระนิพพาน ย่อมไม่สําคัญพระนิพพานว่า ของเรา ย่อมไม่ยินดพระนิพพาน ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะปราศจากโมหะ เหตุโมหะสิ้นไป.
            กําหนดภูมินัยที่ ๖ ด้วยสามารถพระขีณาสพ.
        กําหนดภูมินัยที่ ๗ ด้วยสามารถพระศาสดา
    [๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงรู้ธาตุดินโดยความเป็นธาตุดินจริง ครั้นทรงรู้ยิ่งธาตุดินโดยความเป็นธาตุดินจริงแล้ว ย่อมไม่ทรงสําคัญธาตุดิน ย่อมไม่ทรงสําคัญในธาตุดิน ย่อมไม่ทรงสําคัญโดยความเป็นธาตุดิน ย่อมไม่ทรงสําคัญธาตุดินว่าของเรา ย่อมไม่ทรงยินดีธาตุดิน ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่า เพราะธาตุดินนั้นพระตถาคต กําหนดรู้แล้ว.
    ย่อมทรงรู้ธาตุน้ำ ... ธาตุไฟ ... ธาตุลม ... สัตว์ ... เทวดา ... มาร ... พรหม ... อาภัสสรพรหม ... สุภกิณหพรหม ... เวหัปผลพรหม ... อสัญญีสัตว์ ... อากาสานัญจายตนพรหม ... วิญญาณัญจายตนพรหม ... อากิญจัญญายตนพรหม ... เนวสัญญานาสัญญาตนพรหม ... รูปที่
ตนเห็น ... เสียงที่ตนฟัง ... อารมณ์ที่ตนทราบ ... วิญญาณที่ตนรู้แจ้ง ... ความที่สักกายะเป็นอันเดียวกัน ... ความที่สักกายะต่างกัน ... สักกายะทั้งปวง ... ทรงรู้พระนิพพานโดยความเป็นพระนิพพาน ครั้นทรงรู้พระนิพพานโดยความเป็นพระนิพพานแล้ว ย่อมไม่ทรงสําคัญพระนิพพาน ย่อมไม่ทรงสําคัญในพระนิพพาน ย่อมไม่ทรงสําคัญโดยความเป็นพระนิพพาน ย่อมไม่ทรงสําคัญพระนิพพานว่า ของเรา ย่อมไม่ทรงยินดีพระนิพพาน ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่า เพราะพระนิพพานนั้นพระตถาคตทรงกําหนดรู้แล้ว.
            กําหนดภูมินัยที่ ๗ ด้วยสามารถพระศาสดา.
        กําหนดภูมินัยที่ ๘ ด้วยสามารถพระศาสดา
    [๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงรู้ธาตุดินโดยความเป็นธาตุดินจริง ครั้นทรงรู้ธาตุดินโดยความเป็นธาตุดินจริงแล้ว ย่อมไม่ทรงสําคัญธาตุดิน ย่อมไม่ทรงสําคัญในธาตุดิน ย่อมไม่ทรงสําคัญโดยความเป็นธาตุดิน ย่อมไม่ทรงสำคัญธาตุดินว่า ของเรา
ย่อมไม่ทรงยินดีธาตุดิน ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร? เรากล่าวว่า เพราะทรงทราบว่า ความเพลิดเพลินเป็นมูลแห่งทุกข์ เพราะภพจงมีชาติ สัตว์ผู้เกิดแล้ว ต้องแก่ ต้องตาย เพราะเหตุนั้นแล ภิกษุทั้งหลายเราจึงกล่าวว่า พระตถาคตตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ เพราะสิ้นตัณหา สํารอกตัณหา ดับตัณหา สละตัณหา สละคืนตัณหาเสียได้ โดยประการทั้งปวง
    ย่อมทรงรู้ยิ่งธาตุน้ำ ... ธาตุไฟ ... ธาตุลม ... สัตว์ ... เทวดา ... มาร ... พรหม ... อาภัสสรพรหม ... สุภกิณหพรหม ... เวหัปผลพรหม ... อสัญญีสัตว์ ... อากาสานัญจายตนพรหม ... วิญญาณัญจายตนพรหม ... อากิญจัญญายตนพรหม ... เนวสัญญานาสัญญายตนพรหม ... รูปที่ตน
เห็น ... เสียงที่ตนฟัง ... อารมณ์ที่ตนทราบ ... วิญญาณที่ตนรู้แจ้ง ... ความที่สักกายะเป็นอันเดียวกัน ... ความที่สักกายะต่
างกัน ... สักกายะทั้งปวง ... ทรงรู้ยิ่งพระนิพพานโดยความเป็นพระนิพพาน ครั้นทรงรู้พระนิพพานโดยความเป็นพระนิพพานแล้ว ย่อมไม่ทรงสําคัญพระนิพพาน ย่อมไม่ทรงสําคัญในพระนิพพาน ย่อมไม่ทรงสำคัญโดยความเป็นพระนิพพาน ย่อมไม่ทรงสําคัญพระนิพพานว่า ของเรา ย่อมไม่ทรงยินดีพระนิพพาน ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร? เรากล่าวว่า เพราะทรงทราบว่า ความเพลิดเพลินเป็นมูลแห่งทุกข์ เพราะภพจึงมีชาติ สัตว์ผู้เกิดแล้วต้องแก่ ต้องตาย เพราะเหตุนั้นแล ภิกษุทั้งหลาย เราจึงกล่าวว่า พระตถาคตตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ เพราะสิ้นตัณหา สํารอกตัณหา ดับตัณหา สละตัณหา สละคืนตัณหาเสียได้ โดยประการทั้งปวง.
            กําหนดภูมินัยที่ ๘ ด้วยสามารถพระศาสดา.
    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสมูลปริยายนี้จบแล้ว ภิกษุเหล่านั้นมิได้ชื่นชมภาษิตของพระผู้มีพระภาค ฉะนี้แล.
        จบ มูลปริยายสูตร ที่ ๑


เล่ม ๔.๗. วัตถูปมสูตร

๗. วัตถูปมสูตร ว่าด้วยข้ออุปมาด้วยผ้า      [๙๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้      สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม...